วันพฤหัสบดีที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2558

วิวัฒนาการของมนุษย์เทคโนโลยีสารสนเทศ

วิวัฒนาการเทคโนโลยีสามารถแบ่งได้หลายแบบ โดยขึ้นอยู่กับว่าจะใช้อะไรเป็นเกณฑ์
วิวัฒนาการของเทคโนโลยีอาจจะสรุปเกณฑ์ที่ใช้แบ่งได้ดังนี้
1. ระยะเวลา
2. ความจำเป็นในการใช้เทคโนโลยี
3. ลักษณะของเทคโนโลยี
 1.วิวัฒนาการของเทคโนโลยีที่แบ่งตามระยะเวลา แบ่งได้ 4 ยุค คือ
1.1 ยุคโบราณ ยุคแรก ๆ ประมาณ 10,000 ปี ก่อนคริสตศักราช มนุษย์อยู่ร่วมกันเป็นกลุ่มเล็ก ๆต้องดิ้นรนหาอาหารด้วยการล่าสัตว์ เพื่อให้ชีวิตอยู่รอด มนุษย์ใช้สิ่งที่มีอยู่ในธรรมชาติ เช่น ไม้ กระดูก ขนสัตว์ ใบไม้ หญ้า เพื่อการดำรงชีวิต
1.2 ยุคกลาง  เป็นยุคที่เกี่ยวข้องกับการควบคุมเครื่องกลไกต่าง ๆ เช่น ในประเทศจีน ใช้ระบบแม่แรงยกสิ่งของ (Hydraulic Engineering) เพื่อใช้กับสิ่งก่อสร้าง
1.3 ยุคปฏิวัติอุตสาหกรรม  ยุคนี้เทคโนโลยีเจริญก้าวหน้ามากขึ้น เป็นยุคของเทคโนโลยีพลังงาน (Energy Technology)มีการสร้างกังหันลมและใช้พลังไอน้ำ สำหรับการทำงานของเครื่องจักรกล และการค้นพบความรู้เรื่องไฟฟ้าและเกิดการคิดค้นการสร้างเครื่องกำเนิดไฟฟ้า
1.4 ยุคศตวรรษที่ 20  เป็นยุคของการบิน การส่งจรวด ความรู้ทางอิเล็กทรอนิกส์และระเบิดปรมาณู การประดิษฐ์ คิด ค้นวัสดุใหม่ ๆ
 2. วิวัฒนาการของเทคโนโลยีแบ่งตามความจำเป็นในการใช้เทคโนโลยี แบ่งได้ 2 ยุค คือ
2.1 ยุคแรก  เทคโนโลยีเกิดขึ้นพร้อมกับการมีมนุษยชาติ เป็นการสร้างอุปกรณ์หรือเครื่องมือเพื่อการยังชีพ โดยใช้วัสดุธรรมชาติใกล้ตัว
2.2 ยุคปฏิวัติอุตสาหกรรม  เทคโนโลยียุคปฏิวัติอุตสาหกรรม มีการพัฒนาและเปลี่ยนแปลงรวดเร็วมากมีการประดิษฐ์เครื่องจักรกลเพื่อใช้แทนแรงงานคนและพลังน้ำไหลตามธรรมชาติไปสู่ต้นกำลังการผลิตในโรงงานอุตสาหกรรม                             
3. วิวัฒนาการของเทคโนโลยีแบ่งตามลักษณะของเทคโนโลยี แบ่งได้ 5 ขั้น คือ
1. ช่างฝีมือ (Handcraft)       2. ช่างกล (Mechanization)         3. ระบบเครื่องจักรโรงงาน (Mass production)
4. เครื่องจักรอัตโนมัติ (Automation)             5. สมองกล (Cybermation)
 ตัวกำหนดทิศทางการพัฒนาเทคโนโลยี ได้แก่
1. สภาพสังคม เศรษฐกิจและการเมือง
2. ทรัพยากรในสังคม
3. จริยธรรมของสังคม
 ระดับและการจัดกลุ่มของเทคโนโลยี
ระดับของเทคโนโลยี  เทคโนโลยีที่ใช้ในสังคมสามารถแบ่งได้ 3 ระดับ คือ
1) เทคโนโลยีระดับพื้นบ้านหรือระดับพื้นฐาน (Low Technology)
2) เทคโนโลยีระดับกลาง (Intermediate Technology)
3) เทคโนโลยีระดับพื้นสูง (High Technology
เทคโนโลยีระดับพื้นบ้าน
         ส่วนมากเป็นเทคโนโลยีที่มีอยู่แต่เดิมตั้งแต่ยุคโบราณเกิดขึ้นจากความจำเป็นในการยังชีพของชาวชนบทในท้องถิ่นมีการประยุกต์ใช้วัสดุอุปกรณ์ที่ได้จากธรรมชาติโดยตรงตลอดจนใช้แรงงานในท้องถิ่น มีการสืบทอดเทคโนโลยีต่อ ๆ กันมาพร้อมกับขนบธรรมเนียม ประเพณีและวัฒนธรรมท้องถิ่น ดังนั้นอาจเรียกเทคโนโลยีระดับต่ำว่าเป็นเทคโนโลยีท้องถิ่น (Traditional technology ) อันจัดเป็นเทคโนโลยีอย่างง่ายๆ ซึ่งผู้ที่มีความสามารถในระดับต่ำจำเป็นต้องมีความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับเทคโนโลยีนั้น ๆ อย่างถูกต้อง เนื่องจากมีความจำเป็นต้องใช้เพื่อการดำรงชีวิต แต่ก็ไม่จำเป็นต้องมีเข้าใจอย่างลึกซึ้งจนถึงระดับแก้ไข ดัดแปลง เพียงแต่รู้หลัก
 เทคโนโลยีระดับกลาง (Intermediate Technology)
      เกิดจากการปรับปรุงพัฒนาเทคโนโลยีระดับต่ำหรือเทคโนโลยีพื้นบ้านมาเพื่อให้ได้รับประโยชน์จากเทคโนโลยีนั้นมากยิ่งขึ้น ผู้พัฒนาเทคโนโลยีเหล่านี้จะเป็นผู้มีความรู้ลึกซึ้ง เข้าใจระบบการทำงานและกลไก ต่าง ๆ ตลอดจนสามารถแก้ไขซ่อมแซมอุปกรณ์ เครื่องมือให้กลับสภาพดีดังเดิมได้ นอกจากนี้จะต้องมีประสบการณ์เข้าใจความเป็นไปของธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมตามสมควร นักพัฒนามีบทบาทอย่างมากในการใช้เทคโนโลยีระดับกลางในการเสริมความรู้และประสบการณ์ให้กับผู้คนในท้องถิ่น ตัวอย่างเช่น การผลิตอาหารโดยใช้ผลิตผลเหลือใช้จากการเกษตร การปลูกพืชหมุนเวียนเพื่อแก้ปัญหาดินเสื่อม การถนอมอาหาร การสร้างอ่างเก็บน้ำ และเครื่องขูดมะพร้าวเป็นต้น
เทคโนโลยีระดับสูง (High Technology)
เป็นเทคโนโลยีที่ได้จากประสบการณ์อันยาวนาน มีความสลับซับซ้อน เพราะเป็นความสามารถในการปรับปรุงแก้ไข ซึ่งนับเป็นความสามารถในระดับสูงกว่าการแก้ปัญหาหรือแก้ข้อขัดข้องของเทคโนโลยีต้องรู้จักดัดแปลงเทคโนโลยีเดิมให้มีคุณภาพดีขึ้นจนก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด เทคโนโลยีระดับสูงนั้นอาจจำเป็นต้องอาศัยการศึกษาเรียนรู้ในสถาบันการศึกษาชั้นสูงมีการวิจัยทดลองอย่างสม่ำเสมอและมีการประดิษฐ์คิดค้นเครื่องมือ เครื่องจักรกลต่าง ๆ ที่มีประสิทธิภาพสูง ตัวอย่างเช่น การผลิตอาหารกระป๋อง การคัดเลือกพันธุ์สัตว์โดยใช้เทคโนโลยีชีวภาพ กะทิสำเร็จรูป ยู เอช ที และกะทิผง เป็นต้น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น